วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

เคล็ดไม่ลับการทำอาหาร

“น้ำมันพืช” เลือกยังไง ใช้ยังไ
 น้ำมันพืช จะมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (ยกเว้นน้ำในมะพร้าว และน้ำมันเมล็ดปาล์ม) ไม่ค่อยเป็นไขแม้จะแช่ในตู้เย็น แต่จะทำปฏิกิริยากับความร้อนและออกซิเจนได้ง่าย ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืนภายหลังจากใช้ประกอบอาหารแล้ว
       
       น้ำมันสัตว์ มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันอิ่มตัว เป็นไขง่าย และมีกลิ่นเหม็นหืนได้ง่ายแม้จะทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง และนอกจากจะมีกรดไขมันอิ่มตัวมากแล้ว ก็ยังมีคอเลสเตอรอลมากด้วย
       
       ทีนี้มาทำความรู้จักกับน้ำมันพืชที่เราใช้ประกอบอาหารกันอยู่ในปัจจุบันนี้ เริ่มจาก น้ำมันมะกอก เป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากที่สุด ซึ่งจะช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในร่างกาย อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินเอ เบต้าแคโรทีน ที่จะช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น ลดรอยเหี่ยวย่นได้ น้ำมันมะกอกมีจุดเกิดควันต่ำ (หมายถึง เกิดควันได้ง่าย) จึงไม่เหมาะกับการปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อน นิยมนำมาทำเป็นน้ำสลัด หรือเป็นส่วนประกอบของน้ำสลัด
       
       น้ำมันถั่วเหลือง”, “น้ำมันเมล็ดทานตะวัน”, “น้ำมันข้าวโพด มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในระดับปานกลาง ไม่เป็นไขที่อุณหภูมิต่ำ แต่ถ้าผ่านความร้อนอุณหภูมิสูงมากจะเกิดอนุมูลอิสระได้ง่าย จึงเหมาะกับการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนปานกลาง เช่น การผัด หรืออาจนำมาทำน้ำสลัด และมาการีน
       
       น้ำมันรำข้าว”, “น้ำมันเมล็ดฝ้าย”, “น้ำมันปาล์ม เป็นน้ำมันที่ไม่กรดไขมันไม่อิ่มตัวในระดับปานกลาง แต่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง จึงทำให้ระดับคอเลสเตอรอลสูงได้ แต่ก็เป็นน้ำมันที่เป็นแหล่งวิตามินอี และสามารถทดความร้อนได้สูง จึงนิยมใช้สำหรับทอด
       
       แต่นอกเหนือจากน้ำมันที่กล่าวถึงมาข้างต้นแล้ว ก็ยังมีน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ ที่ปัจจุบันนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายอีก อาทิ น้ำมันเมล็ดคำฝอย เป็นน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงที่สุดในบรรดาน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร และยังมีกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ปัจจุบันจึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติและอาหารเพื่อสุขภาพ
       
       น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก และเป็นไขได้ง่ายเมื่อมีอุณหภูมิต่ำ จึงไม่ค่อยนิยมนำมาปรุงอาหาร แต่จะใช้เพื่อผลิตมาการีนและสบู่
       
       น้ำมันงา เป็นน้ำมันที่มีหลักฐานว่ามีการใช้มาอย่างยาวนานแล้ว ซึ่งการสกัดน้ำมันงานั้นทำได้ง่ายโดยการบดธรรมดา ไม่ต้องผ่านความร้อนเหมือนการทำน้ำมันชนิดอื่น สำหรับการใช้น้ำมันงานั้น ไม่ได้นำมาใช้ผัดหรือทอดโดยตรง แต่จะใช้ผสมเพื่อแต่งกลิ่นและรสของอาหาร โดยเฉพาะในอาหารจีน เนื่องจากน้ำมันงามีกลิ่นและรสเฉพาะตัว
       
       หลังจากรู้คุณสมบัติของน้ำมันพืชชนิดต่างๆ แล้ว คราวหลังถ้าจะต้องไปเลือกซื้อน้ำมันพืช ก็ลองสำรวจดูก่อนว่าต้องการจะซื้อมาทำอะไร จะได้เลือกชนิดของน้ำมันได้ถูกต้อง





วิธีการล้างผักผลไม้ให้ปลอดภัย/ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล

การใช้น้ำส้มสายชูที่มีกรดน้ำส้มความเข้มข้น 5%ของกรดน้ำส้ม ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:10 แช่นาน 10-15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด สามารถลดปริมาณสารพิษลงร้อยละ 60-84 ข้อจำกัดคือ ผักอาจมีกลิ่นของน้ำส้มสายชูติดมา และผักบางอย่างเช่นผักกาดขาว ผักกาดเขียว อาจมีการดูดรสเปรี้ยวจากน้ำส้มสายชูทำให้รสชาติเปลี่ยนไป และภาชนะที่ใส่ผักล้างไม่ควรเป็นพลาสติก
       
       การใช้ด่างทับทิม (Potassium Permanganate) มีลักษณะเป็นเกล็ดแข็ง สีม่วง สามารถละลายได้ในน้ำ ให้สีชมพู หรือม่วงเข้ม เป็นสารประกอบประเภทเกลือ โดยใช้ปริมาณ 20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดสามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 35-43 ข้อจำกัดคือการใช้ด่างทับทิมในปริมาณที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร และหากสูดดมไอระเหยของด่างทับทิมเข้าไปมากก็จะทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหาได้ รวมถึงหากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้
       
       ล้างผักโดยน้ำไหลผ่าน โดยเด็ดผักเป็นใบๆ ใส่ตะแกรงโปร่งเปิดน้ำให้แรงพอประมาณ ใช้มือช่วยคลี่ใบผักและถูไปมาบนผิวใบของผักผลไม้นานประมาณ 2 นาที สามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 25-63 วิธีนี้เป็นวิธีที่เรียกได้ว่าดีมากวิธีหนึ่งแต่มีข้อเสียอยู่ว่าใช้เวลานานในการล้างและใช้น้ำปริมาณมาก
       
       ใช้เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดสามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 27-38วิธีการนี้ลดปริมาณได้ไม่มากและอาจมีเกลือและรสเค็มไปอยู่ในผักหรือผลไม้
       
       ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง (20 ลิตร) แช่นาน 15 นาที แล้วนำไปล้างด้วยน้ำสะอาด ลดปริมาณสารพิษลงได้ถึงร้อยละ 90-95 ข้อจำกัดของการใช้เบกกิ้งโซดาคือมีส่วนผสมของโซเดียมอยู่และอาจดูดซึมเข้าสู่ผักหรือผลไม้ และหากล้างไม่สะอาดการได้รับเบกกิ้งโซดาในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสียได้
       
       วิธีการต้มหรือลวกผักด้วยน้ำร้อน ลดปริมาณสารพิษได้ ประมาณร้อยละ 50 วิธีการนี้เป็นอีกวิธีที่ดีและปลอดภัยแต่จะทำให้ผักหรือผลไม้ เสียคุณค่าทางอาหารไปกับน้ำและความร้อน เช่น วิตามินซี วิตามินบี 1 ไนอะซิน
       
       การปอกเปลือกหรือการลอกชั้นนอกของผักออก เช่น กะหล่ำปลี ถ้าลอกใบชั้นนอกออกจะปลอดภัยมากกว่า แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดจะช่วยลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 27-72 
       
       วิธีการแช่ผักในน้ำยาล้างผักที่มีวางขายอยู่โดยใช้ความเข้มข้นประมาณ 0.3% ในน้ำ 4 ลิตร แช่ผักนานประมาณ 15 นาที จะลดปริมาณสารพิษฆ่าแมลงได้ร้อยละ 25-70 แต่วิธีนี้ต้องทำด้วยความระมัดระวังต้องดูให้ดีว่าน้ำยาล้างผักมีส่วนประกอบด้วยอะไรบ้าง เพราะในบางครั้งน้ำยาล้างผักจะแทรกซึมเข้าไปในผักซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
       
       จะได้เห็นแล้วว่า แต่ละวิธีสามารถช่วยลดปริมาณของสารตกค้างที่อยู่ในผักและผลไม้ได้แต่ว่าจะเลือกวิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน ปริมาณและชนิดของผัก-ผลไม้ที่ต้องการจะล้าง และเวลาที่มีอยู่ และที่สำคัญคือพยายามรับประทานผัก-ผลไม้ให้หลากหลายอย่ากินซ้ำๆกันเกินไป และเปลี่ยนร้านที่ซื้อผัก-ผลไม้บ้าง เนื่องจากหากมีพิษ หรือสารตกค้างในผักก็จะได้ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมากนัก


เคล็ดลับ วิธีล้างปลาไม่ให้คาว
วันนี้เรามีเคล็ดลับวิธีล้างปลาไม่ให้คาวมาฝากคุณพ่อบ้านแม่บ้านกันอีกเช่นเคย สำหรับใครหลายคนที่ยังไม่รู้จักกับ วิธีล้างปลาไม่ให้คาว ล่ะก็วันนี้ได้เฮแล้วนะค่ะเพราะด้วย เคล็ดลับ วิธีล้างปลาไม่ให้คาว นี้นอกจากจะช่วยดับกลิ่นคาวของปลาอันไม่พรึงประสงค์แล้ววิธีล้างปลาไม่ให้คาวยังช่วยให้การล้างปลาของคุณสะอาดมากยิ่งขึ้นอีกด้วยซึ่งจะลดปัญหาของเมือกปลาที่ไหลย้อยและลดการลื่นของเมือกปลาได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียวค่ะ นั้นไม่รอช้ามาฟังเคล็ดลับ วิธีล้างปลาไม่ให้คาว กันเลยดีกว่าค่ะ อ๋อลืมบอกไปอีกอย่าหนึ่งค่ะสำหรับวิธีล้างปลาไม่ให้คาวนี้เหมาะกับการใช้ประกอบอาหารทุกประเภทนะค่ะ


วิธีล้างปลาไม่ให้คาว
- ล้างน้ำสะอาดแบบธรรมดาก่อน 1 รอบ
- เอาเงือกปลาออกและขัดในท้องปลาให้สะอาดจากนั้นก็ล้างน้ำให้สะอาดอีกครั้งให้สะอาด
- ขั้นตอนสุดนำแป้งมัน 1 ช้อนชา ลูบไล้ให้ทั่วตัวปลาทั้งหมด พักไว้ 1 นาที แล้วล้างน้ำสะอาดออก 
ด้วยวิธีนี้จะช่วยให้ปลาไม่คาวและลดเมือกของปลาไปได้เยอะเลยค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น