วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

จัดทำโดย


จัดทำโดย
นางสาวกนกวรรณ  เพ็ชรบ้านใหม่  เลขที่ 1
นางสาวกมลชนก  จิตราภิรมย์  เลขที่ 2
นางสาวเกตุวดี  จันทร์สุริยะ  เลขที่ 5
นางสาวศิรินยา  สอนอินทร์  เลขที่ 18
นางสาวหฤทัย วิรินทร์  เลขที่ 22

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

อาหารไทย 4 ภาค


ประเทศไทยแบ่งออกตามภาคของเขตในแต่ละจังหวัด ซึ่งมีพื้นที่ที่แตกต่างกันไป ทั้งภาษา วัฒนธรรม ขนบ ธรรมเนียมประเพณี  วิถีชีวิตความเป็นอยู่  ก็มีความแตกต่างด้วยเช่นกัน
 
ดังนั้นอาหารในแต่ละภาคแต่ละจังหวัด จะมีสูตรการทำอาหารและรสชาติที่ไม่เหมือนกัน อย่างเช่น ภาคใต้จะเป็นอาหารประเภทแกงและอาหารทะเลเป็นส่วนมาก ภาคเหนือจะเป็นอาหารสุขภาพและสมุนไพร ภาคอีสานจะมีอาหารคล้ายกับทางภาคเหนือ แต่รสชาติไปทางเผ็ดร้อนและภาคกลางจะเป็นอาหารตามหลักทั่วไปซึ่งรวมทั้งอาหารไทยและอาหารนานาชาติ 
อาหารไทยขึ้นชื่อได้ว่ามีประวัติมาช้านาน ผู้คนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศต่างนิยมชมชอบในอาหารไทยกันมากมาย โดยเฉพาะชื่อเสียงในด้านความเข้มข้นและจัดจ้านของรสอาหารที่ติดปากติดใจผู้คนมานับศตวรรษโดยส่วนใหญ่อาหารไทยจะมีวิธีการประกอบอย่างง่ายๆ และ ใช้เวลาในการทำไม่มากนักโดยเฉพาะทุกครัวเรือนของคนไทย จะมีส่วนประกอบอาหารติดอยู่ทุกครัวเรือน เครื่องเทศต่างๆ  ผัก เนื้อสัตว์นานาชนิด นำมาประกอบอาหารทั้ง ผ้ด แกง ต้ม  ยำ อาหารไทยได้รับอิทธิพลในการปรุงอาหารรวมทั้งรูปแบบในการรับประทานอาหารตั้งแต่ อดีต อาทิการนำเครื่องเทศมาใช้ในการประกอบอาหารก็ได้รับ อิทธิพลมาจากเปอร์เชียผ่านอินเดีย
อาหารไทยแท้และอาหารไทยแปลง
  • อาหารไทยแท้
คืออาหารที่คนไทยทำกันมาแต่โบราณ ส่วนมากเป็นแบบง่ายๆ เช่น ข้าวแช่ ต้มโคล้ง แกงป่า น้ำพริก เป็นต้น และหลน  
  ขนมไทยแท้ก็ปรุงมาจากแป้ง น้ำตาล กะทิเป็นส่วนใหญ่ เช่น ขนมเปียกปูน ขนมเปียกอ่อน ตะโก้ ลอดช่อง เป็นต้น และถ้าใส่ไข่ ส่วนมากมักจะเป็นขนมไทยที่รับมาจากชาติอื่น
  •   อาหารไทยแปลง
          คืออาหารไทยที่แต่งแปลงมาจากเทศ หรือ
อาหารไทยที่รับมาจากต่างประเทศ บางชนิดคนไทยคุ้นเคย จนไม่รู้สึกว่าเป็นของชาติอื่นเช่น แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น ที่จริงนั้นดัดแปลงมาจากของอินเดีย และแกงจืดต้มจืดทั้งหลายก็ดัดแปลงมาจากอาหารจีน  
อาหารหวานหรือขนมหลายอย่าง ได้รับการถ่ายทอดมาจากชาวยุโรปที่เข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดทองโปร่ง ฝอยทอง และ สังขยา


เคล็ดไม่ลับการทำอาหาร

“น้ำมันพืช” เลือกยังไง ใช้ยังไ
 น้ำมันพืช จะมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (ยกเว้นน้ำในมะพร้าว และน้ำมันเมล็ดปาล์ม) ไม่ค่อยเป็นไขแม้จะแช่ในตู้เย็น แต่จะทำปฏิกิริยากับความร้อนและออกซิเจนได้ง่าย ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืนภายหลังจากใช้ประกอบอาหารแล้ว
       
       น้ำมันสัตว์ มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันอิ่มตัว เป็นไขง่าย และมีกลิ่นเหม็นหืนได้ง่ายแม้จะทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง และนอกจากจะมีกรดไขมันอิ่มตัวมากแล้ว ก็ยังมีคอเลสเตอรอลมากด้วย
       
       ทีนี้มาทำความรู้จักกับน้ำมันพืชที่เราใช้ประกอบอาหารกันอยู่ในปัจจุบันนี้ เริ่มจาก น้ำมันมะกอก เป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากที่สุด ซึ่งจะช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในร่างกาย อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินเอ เบต้าแคโรทีน ที่จะช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น ลดรอยเหี่ยวย่นได้ น้ำมันมะกอกมีจุดเกิดควันต่ำ (หมายถึง เกิดควันได้ง่าย) จึงไม่เหมาะกับการปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อน นิยมนำมาทำเป็นน้ำสลัด หรือเป็นส่วนประกอบของน้ำสลัด
       
       น้ำมันถั่วเหลือง”, “น้ำมันเมล็ดทานตะวัน”, “น้ำมันข้าวโพด มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในระดับปานกลาง ไม่เป็นไขที่อุณหภูมิต่ำ แต่ถ้าผ่านความร้อนอุณหภูมิสูงมากจะเกิดอนุมูลอิสระได้ง่าย จึงเหมาะกับการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนปานกลาง เช่น การผัด หรืออาจนำมาทำน้ำสลัด และมาการีน
       
       น้ำมันรำข้าว”, “น้ำมันเมล็ดฝ้าย”, “น้ำมันปาล์ม เป็นน้ำมันที่ไม่กรดไขมันไม่อิ่มตัวในระดับปานกลาง แต่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง จึงทำให้ระดับคอเลสเตอรอลสูงได้ แต่ก็เป็นน้ำมันที่เป็นแหล่งวิตามินอี และสามารถทดความร้อนได้สูง จึงนิยมใช้สำหรับทอด
       
       แต่นอกเหนือจากน้ำมันที่กล่าวถึงมาข้างต้นแล้ว ก็ยังมีน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ ที่ปัจจุบันนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายอีก อาทิ น้ำมันเมล็ดคำฝอย เป็นน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงที่สุดในบรรดาน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร และยังมีกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ปัจจุบันจึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติและอาหารเพื่อสุขภาพ
       
       น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก และเป็นไขได้ง่ายเมื่อมีอุณหภูมิต่ำ จึงไม่ค่อยนิยมนำมาปรุงอาหาร แต่จะใช้เพื่อผลิตมาการีนและสบู่
       
       น้ำมันงา เป็นน้ำมันที่มีหลักฐานว่ามีการใช้มาอย่างยาวนานแล้ว ซึ่งการสกัดน้ำมันงานั้นทำได้ง่ายโดยการบดธรรมดา ไม่ต้องผ่านความร้อนเหมือนการทำน้ำมันชนิดอื่น สำหรับการใช้น้ำมันงานั้น ไม่ได้นำมาใช้ผัดหรือทอดโดยตรง แต่จะใช้ผสมเพื่อแต่งกลิ่นและรสของอาหาร โดยเฉพาะในอาหารจีน เนื่องจากน้ำมันงามีกลิ่นและรสเฉพาะตัว
       
       หลังจากรู้คุณสมบัติของน้ำมันพืชชนิดต่างๆ แล้ว คราวหลังถ้าจะต้องไปเลือกซื้อน้ำมันพืช ก็ลองสำรวจดูก่อนว่าต้องการจะซื้อมาทำอะไร จะได้เลือกชนิดของน้ำมันได้ถูกต้อง





วิธีการล้างผักผลไม้ให้ปลอดภัย/ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล

การใช้น้ำส้มสายชูที่มีกรดน้ำส้มความเข้มข้น 5%ของกรดน้ำส้ม ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:10 แช่นาน 10-15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด สามารถลดปริมาณสารพิษลงร้อยละ 60-84 ข้อจำกัดคือ ผักอาจมีกลิ่นของน้ำส้มสายชูติดมา และผักบางอย่างเช่นผักกาดขาว ผักกาดเขียว อาจมีการดูดรสเปรี้ยวจากน้ำส้มสายชูทำให้รสชาติเปลี่ยนไป และภาชนะที่ใส่ผักล้างไม่ควรเป็นพลาสติก
       
       การใช้ด่างทับทิม (Potassium Permanganate) มีลักษณะเป็นเกล็ดแข็ง สีม่วง สามารถละลายได้ในน้ำ ให้สีชมพู หรือม่วงเข้ม เป็นสารประกอบประเภทเกลือ โดยใช้ปริมาณ 20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดสามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 35-43 ข้อจำกัดคือการใช้ด่างทับทิมในปริมาณที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร และหากสูดดมไอระเหยของด่างทับทิมเข้าไปมากก็จะทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหาได้ รวมถึงหากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้
       
       ล้างผักโดยน้ำไหลผ่าน โดยเด็ดผักเป็นใบๆ ใส่ตะแกรงโปร่งเปิดน้ำให้แรงพอประมาณ ใช้มือช่วยคลี่ใบผักและถูไปมาบนผิวใบของผักผลไม้นานประมาณ 2 นาที สามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 25-63 วิธีนี้เป็นวิธีที่เรียกได้ว่าดีมากวิธีหนึ่งแต่มีข้อเสียอยู่ว่าใช้เวลานานในการล้างและใช้น้ำปริมาณมาก
       
       ใช้เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดสามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 27-38วิธีการนี้ลดปริมาณได้ไม่มากและอาจมีเกลือและรสเค็มไปอยู่ในผักหรือผลไม้
       
       ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง (20 ลิตร) แช่นาน 15 นาที แล้วนำไปล้างด้วยน้ำสะอาด ลดปริมาณสารพิษลงได้ถึงร้อยละ 90-95 ข้อจำกัดของการใช้เบกกิ้งโซดาคือมีส่วนผสมของโซเดียมอยู่และอาจดูดซึมเข้าสู่ผักหรือผลไม้ และหากล้างไม่สะอาดการได้รับเบกกิ้งโซดาในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสียได้
       
       วิธีการต้มหรือลวกผักด้วยน้ำร้อน ลดปริมาณสารพิษได้ ประมาณร้อยละ 50 วิธีการนี้เป็นอีกวิธีที่ดีและปลอดภัยแต่จะทำให้ผักหรือผลไม้ เสียคุณค่าทางอาหารไปกับน้ำและความร้อน เช่น วิตามินซี วิตามินบี 1 ไนอะซิน
       
       การปอกเปลือกหรือการลอกชั้นนอกของผักออก เช่น กะหล่ำปลี ถ้าลอกใบชั้นนอกออกจะปลอดภัยมากกว่า แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดจะช่วยลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 27-72 
       
       วิธีการแช่ผักในน้ำยาล้างผักที่มีวางขายอยู่โดยใช้ความเข้มข้นประมาณ 0.3% ในน้ำ 4 ลิตร แช่ผักนานประมาณ 15 นาที จะลดปริมาณสารพิษฆ่าแมลงได้ร้อยละ 25-70 แต่วิธีนี้ต้องทำด้วยความระมัดระวังต้องดูให้ดีว่าน้ำยาล้างผักมีส่วนประกอบด้วยอะไรบ้าง เพราะในบางครั้งน้ำยาล้างผักจะแทรกซึมเข้าไปในผักซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
       
       จะได้เห็นแล้วว่า แต่ละวิธีสามารถช่วยลดปริมาณของสารตกค้างที่อยู่ในผักและผลไม้ได้แต่ว่าจะเลือกวิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน ปริมาณและชนิดของผัก-ผลไม้ที่ต้องการจะล้าง และเวลาที่มีอยู่ และที่สำคัญคือพยายามรับประทานผัก-ผลไม้ให้หลากหลายอย่ากินซ้ำๆกันเกินไป และเปลี่ยนร้านที่ซื้อผัก-ผลไม้บ้าง เนื่องจากหากมีพิษ หรือสารตกค้างในผักก็จะได้ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมากนัก


เคล็ดลับ วิธีล้างปลาไม่ให้คาว
วันนี้เรามีเคล็ดลับวิธีล้างปลาไม่ให้คาวมาฝากคุณพ่อบ้านแม่บ้านกันอีกเช่นเคย สำหรับใครหลายคนที่ยังไม่รู้จักกับ วิธีล้างปลาไม่ให้คาว ล่ะก็วันนี้ได้เฮแล้วนะค่ะเพราะด้วย เคล็ดลับ วิธีล้างปลาไม่ให้คาว นี้นอกจากจะช่วยดับกลิ่นคาวของปลาอันไม่พรึงประสงค์แล้ววิธีล้างปลาไม่ให้คาวยังช่วยให้การล้างปลาของคุณสะอาดมากยิ่งขึ้นอีกด้วยซึ่งจะลดปัญหาของเมือกปลาที่ไหลย้อยและลดการลื่นของเมือกปลาได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียวค่ะ นั้นไม่รอช้ามาฟังเคล็ดลับ วิธีล้างปลาไม่ให้คาว กันเลยดีกว่าค่ะ อ๋อลืมบอกไปอีกอย่าหนึ่งค่ะสำหรับวิธีล้างปลาไม่ให้คาวนี้เหมาะกับการใช้ประกอบอาหารทุกประเภทนะค่ะ


วิธีล้างปลาไม่ให้คาว
- ล้างน้ำสะอาดแบบธรรมดาก่อน 1 รอบ
- เอาเงือกปลาออกและขัดในท้องปลาให้สะอาดจากนั้นก็ล้างน้ำให้สะอาดอีกครั้งให้สะอาด
- ขั้นตอนสุดนำแป้งมัน 1 ช้อนชา ลูบไล้ให้ทั่วตัวปลาทั้งหมด พักไว้ 1 นาที แล้วล้างน้ำสะอาดออก 
ด้วยวิธีนี้จะช่วยให้ปลาไม่คาวและลดเมือกของปลาไปได้เยอะเลยค่ะ